เทคโนโลยีการสื่อสารชนิดต่างๆ (บรรยายโดย น.ศ.BM)


1.นางสาวเตือนใจ ราณะเรศ Wimaxดูบล็อค
2.นางสาวทรัสตี สุวรรณทา 3Gดูบล็อก
3.นายภูริชญ์ ลัฐิกาพงศ์ Bluetoothดูบล็อก
4.นายวรงกรณ์ อารีย์ CDMAดูบล็อก
5.นายสุขสันต์ เชียงการ GSMดูบล็อก
6.นางสาวสุจิตรา สามติ๊บ Microwaveดูบล็อก
7.นางสาวสุพิชฌาย์ บินซอและฮ์ CDMAดูบล็อก
8.นางสาวศิริกัญญา วงศ์ประสิทธิ์ Cellularดูบล็อก
9.นายกิติพงษ์ ชัยยะ Wimaxดูบล็อก
10.นางสาวอัญชลี ทิพย์ปลูก WiFiดูบล็อก
11.นางสาวดาราวรรณ แก้วเอี่ยม Satelliteดูบล็อก
12.นายวนากรณ์ เหมบุตร Optic fiberดูบล็อก

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

การประยุกต์ใช้สารสนเทศในองค์กร

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยปฏิบัติงานในด้านต่างๆอย่างมีประสิทธิผลมีมากมายหลายด้าน ได้แก่

1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น
1.1 การจัดเตรียมเอกสารเป็นการใช้เครื่องมือประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผล
เนื้อหาเป็นเครื่องมือในการจัดเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์
โมเด็ม และช่องทางการสื่อสารระบบประมวลผลคำแบ่งออกได้ 2 ระบบคือ
- ระบบเดี่ยว
- ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร
1.2 งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ
1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสารสามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์
โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมรูปแบบอื่นๆ
1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์สร้างภาพ
เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศน์ วิดีทัศน์ เป็นต้น
1.5 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยเสียง เช่น การใช้โทรศัพท์ เป็นต้น
1.6 งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุม
ทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น

2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรมโรงงานอุตสาหกรรม
หลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการ ระบบการ
ผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้าน อื่นๆ

3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์
สถาบันการเงินต่างๆใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องถอนเงินโดย
อัตโนมัติ หรือ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝากถอนเงิน

4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านบริการสื่อสาร
ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ การค้นคืน
สารสนเทศระบบออนไลน์ และ ดาวเทียม เป็นต้น

5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านสาธารณสุข
สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายด้าน ดังนี้
5.1 ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล
5.2 ระบบสาธารณสุข
5.3 ระบบตัวหนาผู้เชี่ยวชาญ

6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา
6.1 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
6.2 การศึกษาทางไกล
6.3 เครือข่ายการศึกษา
6.4 การใช้งานห้องสมุด
6.5 การใช้งานในห้องปฏิบัติการ
6.6 การใช้ในงานประจำและบริหาร

(ที่มา : www.kmitnbxmie8.com , reg.ksu.ac.th)

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

CDMA: Code Division Multiple Access (ซีดีเอ็มเอ)




เทคโนโลยีไร้สายดิจิตอลซึ่งใช้เทคนิคของ "การกระจายแถบความถี่" (spread spectrum) เพื่อส่งคลื่นวิทยุผ่านแถบความถี่ช่วงกว้าง เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอมีศักยภาพเหนือชั้นกว่าเทคโนโลยีอื่นๆมาก เพราะให้คุณภาพเสียงที่ชัดเจนและมีโอกาสที่สายหลุดได้ยากกว่า ปัจจุบัน มีผู้ใช้ระบบซีดีเอ็มเออยู่กว่า 212.5 ล้านรายทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และอีกหลายแห่งทั่วโลก

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท ควอลคอมม์ ซึ่งระบบซีดีเอ็มเอ จะทำหน้าที่แปลงคำพูดเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล และส่งผ่านข้อมูลในรูปของสัญญาณวิทยุไปบนเครือข่ายไร้สาย เนื่องจากระบบซีดีเอ็มเอ มีการใช้รหัสที่มีลักษณะเฉพาะในการระบุการโทรแต่ละครั้ง จึงสามารถรองรับผู้ใช้โทรศัพท์จำนวนมากในเวลาเดียวกัน โดยไม่เกิดปัญหาสัญญาณหลุด สัญญาณรบกวน หรือคลื่นแทรก

ระบบซีดีเอ็มเอเริ่มเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ในปี ค.ศ.1995 และกลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของโลกปัจจุบันผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำต่างๆ หลายรายได้นำระบบซีดีเอ็มเอไปใช้ในการให้บริการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลความเร็วสูงให้แก่ผู้ใช้โทรศัพท์มากกว่า 212.5 ล้านรายทั่วโลก

เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอ ในช่วงที่เทคโนโลยีระบบการสื่อสารเคลื่อนที่ในยุคที่ 2 ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้นกว่าเทคโนโลยีในยุคแรก นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มมองหาเทคโนโลยีในยุคแห่งอนาคต เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในขณะนั้นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายจะสามารถรองรับการสื่อสารด้วยเสียงเท่านั้น อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีการสื่อสารในรูปของข้อมูลด้วยการส่งข้อมูลไปในอากาศผ่านระบบเครือข่ายก็มีแนวโน้มในการพัฒนาเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับตลาดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและผู้ให้บริการข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ.1999 สมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ (The International Telecommunication Union) ได้กำหนดมาตรฐานระบบการสื่อสารไร้สายในยุคที่ 3 ให้สามารถรับส่งข้อมูลความเร็วสูงพร้อมทั้งกำหนดคุณสมบัติใหม่ในด้านอื่นๆ โดยปรากฎว่า มีเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอถึง 3 ระบบที่ได้รับการรับรองให้เป็นมาตรฐานการสื่อสารระดับ 3G และในปัจจุบันมีผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมชั้นนำมากกว่า 90² รายทั่วโลกได้ขอซื้อลิขสิทธิ์ซีดีเอ็มเอไปใช้ในการผลิตอุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐาน 3G

(1. ที่มา :CDG.org , 2. ที่มา :qualcomm.com)
ข้อดีของ CDMA
1.ความสามารถในการรองรับปริมาณผู้ใช้งานที่มากกว่า(Capacity)
2.การส่งผ่านสัญญาณที่ราบรื่นลดปัญหาสายหลุด(Soft hand-off)
3.ความคมชัดและคุณภาพของเสียงในการติดต่อสื่อสาร(Rake Receiver)
4.ลดความสิ้นเปลื้องพลังงานจากแบตเตอรี่(Power Control)
5.ความปลอดภัยของสัญญาณออกอากาศ


CDMA

CDMA
(Code Division Multiple Access)